ลักษณะอาการ เอ็นเข่าอักเสบ
ปวดบริเวณเข่า มักเป็นด้านใดด้านหนึ่ง เช่นเข่าด้านใน หรือ ด้านหลังข้อเข่า เป็นหลังออกกำลังกาย วิ่ง เดินขึ้นลงบันได หรือใช้งานหนัก มักเป็นในวัยรุ่นที่เป็นนักกีฬา หรือวัยทำงานขึ้นไป
ลักษณะอาการ ข้อเข่าเสื่อม
- ปวดรอบข้อเข่า เป็นมาเป็นเวลานาน ค่อยๆเป็นมากขึ้น
- มักเป็นในผู้สูงอายุ
- มีเสียงกรอบแกรบเมื่อสัมผัสบริเวณข้อแล้วขยับข้อเข่า
- เข่าผิดรูป เข่าโก่ง
การรักษาเอ็นเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม
- ใช้ยาทา ยานวด เช่น เคาเตอร์เพน (Methyl Salicylate, Menthol), เจลพริก (สารสกัดพริก แคปไซซิน) อาจมีอาการแสบร้อน ผิวหนังแดงได้บริเวณที่ทา แต่สามารถลดอาการปวดได้หากอาการเป็นไม่มาก
- กินยาแก้ปวด
- ยาแก้ปวดทั่วไปพาราเซตามอล (มักใช้ไม่ได้ผลหากมีอาการปวดมาก)
- ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่มที่ 1 เช่น ไอบูโพรเฟน Ibuprofen, ไดโคลฟีแนค Diclofenac ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ อาจทำให้เสี่ยงต่อ เลือดออกในกระเพาะ หรือเสี่ยงต่อโรคไตได้
- ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่มที่ 2 ซีลีเบร็ก Celebrex (Celecoxib), อาร์คอกเซีย Arcoxia (Etoricoxib) เป็นยาที่พัฒนาจากกลุ่มข้างต้น มีราคาแพง ลดความเสี่ยงต่อเลือดออกในกระเพาะ แต่พบว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
- ยาแก้ปวดกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น เช่น ทรามอล Tramadol, อัลตราเซต Ultracet (Tramadol+Paracetamol) ซึ่งมีพาราเซตามอลผสมด้วย ไม่ควรกินยาพาราเซตามอลซ้ำซ้อน
ข้อควรระวัง ยากลุ่มนี้อาจมาผลข้างเคียงเช่น ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ (พบได้บ่อย ประมาณ 10-40%) หากกินเป็นเวลานานอาจมีอาการติดยาได้ - กินยากลุ่มที่เชื่อว่าเพิ่มน้ำในข้อเข่า Glucosamine (ใช้ในโรคข้อเข่าเสื่อม)
ข้อควรระวัง ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจทำให้คุมน้ำตาลได้ยากขึ้น และ การใช้เป็นเวลานานอาจทำให้ความดันลูกตาเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อโรคต้อหินมากขึ้นได้ - ออกกำลังกาย โดยการนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ แล้วค่อยๆเตะปลายเท้าขึ้นจนขาขนานกับพื้น นิ่งค้างไว้นับ 1-10 ช้าๆ แล้วจึงเอาลง สามารถทำได้บ่อยๆ ทำซ้ำอย่างน้อยข้างละ 10 ครั้ง เช้า เย็น จะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่าทำงานได้ดีขึ้น ลดแรงกดบริเวณข้อเข่า
- ฝังเข็มรักษา
การฝังเข็มรักษา ได้ผลดีทั้งในโรคเอ็นเข่าอักเสบ และข้อเข่าเสื่อม โดยหากเป็นเอ็นเข่าอักเสบ จะใช้เวลารักษาน้อยกว่า ส่วนในโรคข้อเข่าเสื่อม การฝังเข็มจะช่วยลดอาการปวด และบวม ของข้อเข่า สามารถลดความถี่ในการกินยาได้ บางรายอาจไม่ต้องกินยาแก้ปวดเลย ซึ่งลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงต่างๆจากการใช้ยา เนื่องจากข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเรื้อรัง การกินยาแก้ปวดเป็นเวลานานทำให้โอกาสได้รับผลข้างเคียงจากยามากขึ้น
การฝังเข็มสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ปลอดภัย โดยจะไปกระตุ้นเลือดลมในร่างกาย และบริเวณเข่า ให้ไหลเวียนดีขึ้น นอกจากจะลดอาการปวดเข่าแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลหยินหยาง ร่างกายแข็งแรง สดชื่นมากขึ้นอีกด้วย
“ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่บุคคล” - การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า (ใช้ในโรคข้อเข่าเสื่อม) ในกรณีที่เป็นมาก รักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผล การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 1 ครั้งมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี
ด้วยความปรารถนาดี
ทีมแพทย์ บีบีเวลเนสคลินิก